การทำรากฟันเทียม ใช้ทดแทนรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ผลิตจากวัสดุไททาเนียม ซึ่งสามารถเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้ดี ออกแบบมาเพื่อใช้ยึดติดกับขากรรไกรของคนไข้ในตำแหน่งที่สูญเสียรากฟันธรรมชาติไป ซึ่งตัวรากฟันเทียมนี้จะช่วยรองรับการใส่ฟันแบบติดแน่น หรือ แบบถอดได้ สามารถใช้บดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมือนฟันธรรมชาติ
ประเภทของรากฟันเทียม
โดยทั่วไปแล้วการฝังรากฟันเทียมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไป และการฝังเทียมภายหลังการถอนฟันแบบทันที โดยการฝังรากฟันเทียมแบบทันทีภายหลังการถอนฟันนั้น ในบางเคสสามารถใส่ครอบฟันหรือสะพานฟันให้กับคนไข้พร้อมกันได้ทันที (การฝังรากฟันเทียมแบบพร้อมครอบฟันทันที)
ทั้งนี้เราจะรู้ได้ว่า การฝังรากฟันเทียมที่เหมาะสมกับเราที่สุดนั้นคือประเภทใดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์เฉพาะทางรากฟันเทียม การประเมินสภาพกระดูกประกอบกับการวินิจฉัยผ่านเอ็กเรย์ และ/หรือภาพเอ็กซเรย์ 3 มิติ (CT SCAN) เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมและดีที่สุดกับคนไข้
1. การฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไป
การฝังรากแบบนี้เป็นวิธีที่ทำกันโดยทั่วไป สามารถทำได้เกือบทุกกรณี สามารถฝังรากฟันเทียมชนิดนี้เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไปเพียงซี่เดียว หลายซี่ หรืออาจจะทั้งปาก
โดยปกติแล้วการฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไปนั้นแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ระยะห่างแต่ละขั้นตอนนั้นห่างกันประมาณ 2-6 เดือน
การฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไปสามารถทำได้ในสภาพกระดูกขากรรไกรของคนไข้ส่วนใหญ่ แต่หากในบางกรณีที่คนไข้กระขากรรไกรมีความบางกว่าปกติ หรือมีการสูญเสียกระดูกบริเวณที่จะทำหารฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์เฉพาะทางอาจพิจารณาให้ปลูกกระดูกก่อนรับการฝังรากฟันเทียม เพื่อให้กระดูกบริเวณนั้นมีความหนาและแข็งแรงพอรองรับการฝังรากฟันเทียม
2. การฝังรากเทียมแบบทันที
การฝังรากฟันเทียมแบบทันที หรือที่เรารู้จักอีกชื่อ One day implants คือ การฝังรากเทียมภายหลังการถอนฟันทันที ซึ่งในบางกรณีคนไข้อาจสามารถใส่ครอบ หรือสะพานฟันบนรากฟันเทียมได้เลยด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ โดยส่วนใหญ่แล้วการฝังรากฟันเทียมแบบทันทีจะเหมาะกับคนไข้ที่มีกระดูกขากรรไกรที่ดีเท่านั้น
3. การฝังรากฟันเทียมแบบพร้อมครอบฟันทันที
เป็นการใส่ครอบฟัน/สะพานฟัน ทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวรลงบนรากฟันเทียม การใส่ครอบฟัน/สะพานฟันแบบทันทีนั้น สามารถทำร่วมกับการฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไป และ การฝังรากฟันเทียมแบบทันทีได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งโดยปกติแล้วจะเหมาะกับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรที่ดี
รากฟันเทียมทั้งปาก ราคา: ทำไมต้องทำ รากฟันเทียม? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://bit.ly/3P3AQ21