ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?  (อ่าน 135 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
“ระบบไฟฟ้า คือ การส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า ตามประเภทการใช้งาน โดยส่งจากสถานีไฟฟ้าผ่านสายไฟฟ้าแรงสูง สถานีไฟฟ้าย่อย หม้อแปลงแปลงไฟฟ้าให้ต่ำลงไปยังบ้านพักอาศัย สำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม”

ระบบไฟฟ้า ที่การไฟฟ้าฯ ส่งจ่ายไปยังบ้านเรือนทั่วไป เรียกว่า ระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระบบด้วยกัน (1 เฟสและ 3 เฟส) ในการใช้งานนั้นการไฟฟ้าฯ จะพิจารณาให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าว่าจะใช้ระบบใด โดยพิจารณาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ประเภทและจำนวนของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านนั่นเอง วันนี้จะพาไปดูวิธีตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า เบื้องต้นกัน


การทดสอบมิเตอร์ไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้า ภายในบ้านให้เริ่มตรวจโดยปิดสวิตช์ไฟทุกจุด รวมถึงถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ออกให้หมด จากนั้น ดูมิเตอร์ที่หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว และตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วว่ายังทำงานดีอยู่หรือไม่ ด้วยการกดปุ่มทดสอบหรือ Test (ควรกดปุ่มทดสอบนี้เป็นประจำทุก 1-3 เดือน) ถ้ายังใช้ได้ดี สวิตช์หรือคันโยกจะตกลงมาทันทีเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า และรวมถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์


ตรวจสอบเมนสวิตช์

ตรวจสอบดูว่ามีมดหรือแมลงเข้าไปทำรังในตู้หรือไม่ เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ลูกย่อยยังสามารถใช้ปลดวงจร ระบบไฟฟ้า ในบ้านได้หรือไม่ ป้องกันไฟรั่วและไฟดูดได้ดีอยู่หรือไม่ หากมีอุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหายควรหามาเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย


ตรวจสอบสายไฟฟ้า จุดไหนชำรุดเสียหาย

คอยตรวจสอบสายไฟฟ้าว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายบ้าง โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนอยู่บนฝ้าเพดานอาจเปื่อยกรอบ เนื่องจาก ผ่านการใช้งานมานานหรืออาจจะถูกหนูกัดแทะฉนวนจนสายขาดได้ (ในกรณีที่ไม่ได้หุ้มสายไว้ด้วยท่อร้อยสายไฟ) ถ้าพบเจอต้องเปลี่ยนใหม่โดยทันที


ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้า

ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้าดูว่าหลวม มีรอยแตกร้าว หรือรอยไหม้บ้างหรือไม่ ถ้าเต้ารับหลวมให้ขันสกรูให้แน่นดังเดิม แต่ถ้าแตกร้าวหรือพบรอยไหม้ควรเปลี่ยนใหม่ และควรทดสอบเต้ารับทุกจุดว่ามีไฟหรือไม่ โดยใช้ไขควงวัดไฟทดสอบได้


ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มักมีการจับต้องขณะใช้งาน เช่น เครื่องซักผ้า ตรวจเช็กว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟแตะที่ตัวเครื่องส่วนที่เป็นโลหะ ถ้าหลอดไฟติดหรือเรืองแสง แสดงว่ามีไฟรั่วให้หยุดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นทันที และตรวจเช็กว่ามีการติดตั้งสายดินถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ติดตั้งสายดินให้เรียบร้อย เพื่อช่วยให้ไม่เกิดอันตรายจากไฟฟ้าดูด

    หมายเหตุ : ถ้าเครื่องตัดไฟรั่วไม่ทำงาน เมื่อลองแก้ไขเบื้องต้นแล้วยังพบปัญหาอยู่ แนะนำให้เรียกช่างไฟฟ้ามืออาชีพมาช่วยแก้ไข และในขณะที่ปลดเมนสวิตช์เพื่อทำการซ่อมแซมนั้น ให้เขียนป้ายเตือนไว้ว่า “ห้ามสับไฟ! ช่างไฟฟ้ากำลังทำงาน” แขวนไว้ที่เมนสวิตช์ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ????


เคล็ดลับ! วิธีแก้ไขไฟรั่ว-ไฟดูด จากเครื่องใช้ไฟฟ้า

    เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟรั่วหรือไฟดูดขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ตัดกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุดด้วยการถอดปลั๊ก ปิดเมนสวิตช์ และงดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ แต่วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ติดตั้งระบบสายดินที่ได้มาตรฐาน และควรติดตั้งเบรกเกอร์กันดูดเพิ่มเติมด้วย โดยจะตัดวงจรอัตโนมัติ เช่น เครื่องซักผ้าชำรุด อาจมีกระแสไฟรั่วออกมาที่ตัวเครื่อง เมื่อเราไปจับหรือสัมผัสส่วนที่เป็นโลหะ เบรกเกอร์ก็จะตัดกระแสไฟฟ้า เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้งาน
    ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย แนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดที่มีพิกัดกระแสไฟรั่วไม่เกิน 30 มิลลิแอมป์ สำหรับการใช้ไฟฟ้าในห้องน้ำ โรงจอดรถ ห้องครัว รวมไปถึงการใช้งานภายนอกบ้าน และวงจรย่อยสำหรับเครื่องทำน้ำร้อน-น้ำอุ่น และอ่างอาบน้ำวน


ส่งท้ายสักนิด ทำความเข้าใจเรื่องระบบส่งไฟ

ระบบไฟฟ้า ที่ส่งจ่ายไปยังบ้านเรือนทั่วไป เรียกว่า ระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระบบด้วยกัน คือ

ระบบไฟฟ้า 1 เฟส

ระบบไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปตามบ้าน เป็นกระแสสลับระบบ 1 เฟส 2 สาย แรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยสายไฟ 2 สายที่ใช้ สายหนึ่งจะมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ หรือเรียกว่า สายเคอร์เรนต์ (Current line) ส่วนอีกสายจะเป็นสายนิวทรัล (Neutral line) ที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ จะเห็นได้จากปลั๊กไฟตามบ้านที่มีช่องเสียบอยู่ 2 ช่อง ถ้าเอาไขควงสำหรับตรวจกระแสไฟฟ้าลองวัด จะเห็นว่าช่องหนึ่งจะมีไฟแดงปรากฏ ส่วนอีกช่องจะไม่มีไฟแดงปรากฏ แสดงว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่เมื่อเวลาใช้งานกับหลอดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ร่วมกันทั้ง 2 สาย เพื่อให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร ส่วนปลั๊กไฟที่มี 3 ช่องนั้น ก็ยังเป็นระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟสเหมือนกัน แต่ช่องที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นช่องที่ต่อกับสายดิน (Ground) เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดินเวลาเกิดไฟรั่วเป็นการเพิ่มความปลอดภัย

ระบบไฟฟ้า 3 เฟส

เป็นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส 4 สาย แรงดัน 380 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยที่ 3 สายจะเป็นสายที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยทั่วไประบบไฟฟ้า 3 เฟส มักใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไฟฟ้าระบบนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับระบบแสงสว่าง หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้โดยตรง แต่การนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาใช้ในบ้านนั้น จะนำมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไปตามจุดต่าง ๆ ที่มีการใช้ไฟฟ้า การกระจายจุดของการใช้งานเช่นนี้ ทำให้ไฟฟ้าแต่ละเฟสไม่ถูกใช้งานมาก ถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า เพราะการคิดอัตราค่าใช้ไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ – ชั่วโมง จะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า คือ ยิ่งมีการใช้ไฟฟ้ามากจะยิ่งเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงขึ้น ดังนั้น การกระจายการใช้ไฟฟ้าออกเป็น 3 ส่วน จึงทำให้การใช้ไฟฟ้าในแต่ละส่วนหรือแต่ละเฟสน้อยลง ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูง

    สรุปได้ว่า ทั้ง 2 ระบบ สามารถนำมาใช้งานภายในบ้านได้เหมือนกัน หากนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสมาใช้ จะเสียค่าใช้จ่ายในตอนต้นค่อนข้างสูง เช่น ค่าติดตั้ง ค่าประกันการใช้ไฟฟ้า แต่สามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาว ดังนั้น ควรติดตั้งกับบ้านหรืออาคารที่ค่อนข้างใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลายจุดและเป็นปริมาณมากถึงจะคุ้มกว่า แต่หากเป็นบ้านหรืออาคารที่มีขนาดเล็กและมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่มากควรติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟสก็เพียงพอ





บริหารจัดการอาคาร: ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทเว็บ google ฟรี